วันศุกร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2553

ข่าวสารประจำสัปดาห์ที่12 E-mail

E-mail จากออสเตรเลีย: คอลัมน์ E-Mail จาก ออสเตรเลีย (25-27 เม.ย.52)
E-mail จากออสเตรเลีย: คอลัมน์ E-Mail จาก ออสเตรเลียSource - เว็บไซต์เดลินิวส์ (Th)
Sunday, April 26, 2009 03:0154203 XTHAI XGEN XINTER V%NETNEWS P%WDN
QQQช่วงนี้ภาพลักษณ์ของประเทศไทยจะเสียหายย่อยยับขนาดไหนก็ยากที่จะเดาได้ แต่คนไทยในออสเตรเลียไม่ได้นิ่งดูดาย พยายามเสริมสร้างภาพลักษณ์ดี ๆ ขึ้นมาใหม่ เป็นต้นว่า เอกอัครราชทูต บัณฑิต โสตถิพลาฤทธิ์ กำลังใช้ความพยายามอย่างสุดเหวี่ยง (ก่อนเกษียณ) เพื่อที่จะให้ความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลออสเตรเลียและต่อนักธุรกิจชาวออสเตรเลียว่าเหตุการณ์บ้านเมืองของไทยมิได้มีผลกระทบต่อการค้าและการลงทุนของต่างชาติ แล้ววันที่ 29 เม.ย. 2552 “ท่านทูตบัณฑิต” ก็จะพารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ชาญชัย ชัยรุ่งเรือง ไปเยือนนครบริสเบน เมืองหลวงของรัฐควีนส์แลนด์ เพื่อพูดจาหารือกับกลุ่มนักธุรกิจชาวออสเตรเลียที่สนใจจะไปลงทุนด้านปรับปรุงการรถไฟในประเทศไทย โดยรัฐบาลของรัฐควีนส์แลนด์ได้ให้การสนับสนุนกลุ่มนักธุรกิจดังกล่าว ซึ่งก็แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่นที่ยังมีต่อประเทศไทย ว่ายังเป็นประเทศที่น่าลงทุนอยู่
QQQก่อนหน้านั้น กาญจนา นพพันธ์ ผอ.สำนักงานส่งเสริมการลงทุน (BOI) ที่เพิ่งกลับมาเปิดใหม่ในซิดนีย์ (หลังจากปิดไปนานหลายปี) จะเปิดฉากการรณรงค์เพื่อช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจของไทยโดยการเชื้อเชิญให้นักธุรกิจชาวออสเตรเลียไปร่วมฟังสัมมนาที่จะจัดขึ้นเพื่อให้โอกาสได้พบปะพูดจากับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของไทย อันประกอบด้วย สรยุทธ เพ็ชรตระกูล ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ดร.ดำริ สุโขธนัง ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ดร.อรรชกา สีบุญเรือง-บริมเบิล เลขาธิการ บีโอไอ และ ศ.ดร.ชัชนาถ เทพธรานนท์ รองประธาน สนง.พัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ซึ่งดำรงตำแหน่ง ผอ.ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยีของ สนง.ด้วย ... การสัมมนาแบบสัญจรนี้จะเริ่มต้น 28 เม.ย. 52 ที่โรงแรม Windsor ในนครเมล เบิร์น แล้ววันรุ่งขึ้นก็ยกทีมเคลื่อนย้ายไปที่นครบริสเบน โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมไปรอสมทบทีมอยู่ที่นั่น ก่อนที่จะไปจบลงที่ซิดนีย์ในวันที่ 30 เม.ย. 52 ... นอกจากคณะเจ้าหน้าที่จากประเทศไทยแล้ว ในการประชุมสัมมนาแต่ละแห่งแต่ละครั้ง ก็มีผู้บริหารระดับสูงขององค์กรเอกชนในออสเตรเลียที่เคยทำธุรกิจแล้วประสบความสำเร็จกับประเทศไทยมาร่วมบรรยายและแสดงพยานหลักฐานเกี่ยวกับความสำเร็จนั้นด้วย
QQQเมื่อวันอาทิตย์ที่ 19 เม.ย. 52 วัดธัมมธโร ที่กรุงแคนเบอร์ราจัดงานสงกรานต์ประจำปี มีการทำบุญและการออกร้านขายอาหาร นับว่าประสบความสำเร็จอย่างสูง เพราะนอกจากจะมีคนมาร่วมงานเป็นจำนวนมากแล้ว จอห์น ฮาร์เกรฟ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมผสม (Multicultural Affairs) ของออสเตรเลีย ให้เกียรติมาร่วมงาน เดินชมและชิมอาหารจากร้านต่าง ๆ ... ในส่วนของสถานทูต ฯ ได้ออกร้านขายทอดมัน ข้าวเหนียวดำเปียก และน้ำลำไย สำนักงานผู้ช่วยทูตทหารอากาศ ขายกวยจั๊บและก๋วยเตี๋ยวไก่ ทางฝ่าย สำนักงานผู้ช่วย ทูตทหารบก ขายขนมจีนน้ำยาและน้ำเงี้ยวพร้อมของหวาน ... ราย ได้จากร้านทั้งสาม บริจาคให้วัดธัมมธโรทั้งหมดโดยไม่หักค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น
QQQกลับจากไปพักผ่อนเยี่ยมครอบครัวที่จังหวัดสระแก้ว เจน บัลตัน เจ้าของ Jane's Exotic Thai Cafe ในซิดนีย์พกไอเดียธุรกิจใหม่ ๆ มาเพียบ เพราะได้ไปพบปะพูดคุยกับน้องสาวคนเก่ง คติยา เผ่าพันธุ์ เจ้าของ เรด เมจิค บอร์เดอร์ ทัวร์ เตรียมลุยตลาดธุรกิจการศึกษาและการท่องเที่ยวในออสเตรเลียอีกราย
QQQขอแสดงความเสียใจกับครอบครัวของ ปัญจมา ดิษฐปาน ที่หัวหน้าครอบครัว ปิยะ ดิษฐปาน จากไปอย่างกะทันหัน นำความโศกเศร้าอาลัยมาสู่เพื่อน ๆ พี่ ๆ น้อง ๆ รวมทั้งสมาชิกก๊วนกอล์ฟ และกลุ่มสมาคมชาวปักษ์ใต้แห่งออสเตรเลียที่คุณปิยะได้มีส่วนร่วมเสริมสร้างอย่างแข็งขันมาโดยตลอด ... พิธีบำเพ็ญกุศลและฌาปนกิจศพเสร็จสิ้นไปแล้วตั้งแต่ 16 เม.ย. ที่ผ่านมา
QQQกระทรวงตรวจคนเข้าเมืองของออสเตรเลียออกกฎใหม่เกี่ยวกับการนำเอาชาวต่างชาติเข้ามาทำงานในออสเตรเลีย เคี่ยวและเข้มอย่างสุด ๆ ใช้บังคับตั้งแต่ 14 เม.ย. 52 เป็นต้นไป ... เจ้าของธุรกิจอย่างร้านอาหารไทยร้องกันอู้ เพราะบังคับให้ทั้งเชฟและกุ๊กต้องสอบภาษาอังกฤษ IELTS ให้ผ่านระดับ 5 ถึงจะมีสิทธิให้นายจ้างสปอนเซอร์เข้ามาทำงานได้ ... แล้วจะหาเชฟคนไทยฝีมือดีจากไหนที่คล่องทั้งพูด ฟัง อ่าน และเขียนภาษาอังกฤษได้ดีถึงขนาดนั้น ... เชฟที่ยังไม่มาก็พอว่า แต่บรรดาเชฟและกุ๊กที่ทำงานอยู่ในออสเตรเลียแล้วนี่สิ พอถึงคราวต้องขอวีซ่าเพื่อทำงานต่อ จะทำยังไงกัน ? จะมีใครหรือหน่วยงานไหนบ้างที่จะยื่นมือเข้ามาช่วยคนไทยที่มาทำงานในออสเตรเลียเพื่อส่งเงินกลับบ้าน ?.
"ดิ๊ด จรีดู"
nchan1@optusnet.com.au--จบ--

ที่มา: http://www.dailynews.co.th

ข่าวสารปหระจำสัปดาห์ที่ 11 E-mail

Email
From Wikipedia, the free encyclopedia
Jump to: navigation, search
For the former manufacturing conglomerate, see Email Limited.

The at sign, a part of every e-mail address[1]
Electronic mail, commonly called email or e-mail, is a method of exchanging digital messages across the Internet or other computer networks. Originally, email was transmitted directly from one user to another computer. This required both computers to be online at the same time, a la instant messenger. Today's email systems are based on a store-and-forward model. Email servers accept, forward, deliver and store messages. Users no longer need be online simultaneously and need only connect briefly, typically to an email server, for as long as it takes to send or receive messages.
An email message consists of two components, the message header, and the message body, which is the email's content. The message header contains control information, including, minimally, an originator's email address and one or more recipient addresses. Usually additional information is added, such as a subject header field.
Originally a text-only communications medium, email was extended to carry multi-media content attachments, a process standardized in RFC 2045 through 2049. Collectively, these RFCs have come to be called Multipurpose Internet Mail Extensions (MIME).
The history of modern, global Internet email services reaches back to the early ARPANET. Standards for encoding email messages were proposed as early as 1973 (RFC 561). Conversion from ARPANET to the Internet in the early 1980s produced the core of the current services. An email sent in the early 1970s looks quite similar to one sent on the Internet today.
Network-based email was initially exchanged on the ARPANET in extensions to the File Transfer Protocol (FTP), but is now carried by the Simple Mail Transfer Protocol (SMTP), first published as Internet standard 10 (RFC 821) in 1982. In the process of transporting email messages between systems, SMTP communicates delivery parameters using a message envelope separate from the message (header and body) itself.
ที่มาhttp://en.wikipedia.org/wiki/Email